Tuesday, January 23, 2007


EU แก้ไขกฎระเบียบมาตรการสำหรับสินค้าที่ทำจากสัตว์เพื่อการบริโภคบางประเภท
ด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้ประกาศตีพิมพ์ลงใน EU Official Journal L 320 Volume 13 กฎระเบียบ Commission Regulation (EC) No 1664/2006 of 6 November 2006 amending Regulation (EC) No 2074/2005 as regards implementing measures for certain products of animal origin intended for human consumption and repealing certain implementing measures ว่าด้วย มาตรการดำเนินการสำหรับสินค้าที่ทำจากสัตว์เพื่อการบริโภคบางประเภท
1. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการปรับปรุงกฎระเบียบเดิม คือ กฎระเบียบ Regulation (EC) No 2074/2005 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขสุขอนามัยและสุขอนามัยสัตว์ รวมถึงการกำหนดแบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยสัตว์ (model veterinary certificate) ขึ้นใหม่ สำหรับสินค้าที่ทำจากสัตว์จากประเทศที่สามที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรปในบางประเภท ตามภาคผนวกที่ 2 (Annex II) เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ 3 ฉบับ
ซึ่งเป็นกฎระเบียบแม่ในการควบคุมห่วงโซ่สุขอนามัยอาหารที่ทำมาจากสัตว์ทั้งหมด ทั้งนี้ ได้รวมการกำหนดวิธีตรวจหา (detection method) พิษอัมพาตจากหอย (Paralytic Shellfish Poison : PSP) ซึ่งพิษอัมพาตจากหอยเป็นสารพิษที่เกิดในแพลงก์ตอนโกนีโอแลกซ์ คาทาเนลลา และโกนีโอแลกซ์ ทามาเรนซิส (Gonyaulax catanella and Gonyaulax tamarensis) ซึ่งเป็นอาหารของหอย หอยจะดูดซึมสารพิษนี้จากแพลงก์ตอนและสะสมไว้ในตัว เมื่อรับประทานหอยที่มีสารพิษนี้ จะออกฤทธิ์กับระบบประสาทหลังบริโภคประมาณ 30 นาที จะมีอาการชาที่ปาก กล้ามเนื้อเกิดอัมพาต หากได้รับปริมาณมากจะเสียชีวิตภายใน 12 ชั่วโมง เนื่องจากระบบหายใจขัดข้อง การรักษามักใช้วิธีให้ผู้ป่วยอาเจียนหรือล้างกระเพาะด้วยผงถ่านเพื่อดูดซับสารพิษออกให้มากที่สุด รวมทั้งใช้เครื่องช่วยหายใจ ตามภาคผนวกที่ 1 (Annex I) และวิธีตรวจสอบ (testing methods) นมดิบ (raw milk) และนมที่ผ่านความร้อนสูง (heat-treated milk) ตามภาคผนวกที่ 3 (Annex III) ขึ้นใหม่ด้วยเช่นกัน
2. กฎระเบียบ Commission Regulation (EC) No 1664/2006 นี้กำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกจำต้องใช้แบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยสัตว์ครอบคลุมสินค้ากบ หอยทาก เจลลาติน คอลลาเจน สินค้าประมง หอยสองฝา และน้ำผึ้ง อันได้แก่3. กฎระเบียบดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุโรปด้านห่วงโซ่อาหารและสุขภาพสัตว์ (EU Standing Committee on the Food Chain and Animal Health) ด้วยแล้ว
4. ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลปรับใช้ภายในทุกประเทศสมาชิก EU-25 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไป (มีผล 7 วันภายหลังจากวันที่ประกาศใน EU official Journal) อย่างไรก็ดี EU ได้กำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านให้แก่ประเทศสมาชิก ตามระบุในมาตราที่ 3 ของกฎระเบียบฉบับนี้ว่า ยกเว้นให้แต่เฉพาะภาคผนวกที่ 3 (Annex III) ว่าด้วย วิธีตรวจสอบ (testing methods) นมดิบ (raw milk) และนมที่ผ่านความร้อนสูง (heat-treated milk) ให้มีผลปรับใช้ภายใน 6 เดือนเป็นอย่างช้านับจากวันที่ประกาศใน EU official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 โดยกฎระเบียบใหม่นี้ จะถือเป็นการยกเลิกกฎระเบียบเดิมทุกรายการที่ปรากฏในภาคผนวก 4 (Annex IV) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นไป

http://news.thaieurope.net/content/view/2002/94/

No comments: