การควบคุมการส่งออกสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลกระป๋อง
ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแปรรูป และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสัตว์น้ำ โดยหน่วยงานภาครัฐ
กระทรวงพาณิชย์ ออกประกาศว่าด้วยการกำหนดมาตรการการจัดระเบียบในการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2528 ลงวันที่ 30 มกราคม 2528 กำหนดให้สินค้าปลาทูน่า(Thunnidae)บรรจุภาชนะอัดลมที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เป็นสินค้าที่อยู่ในบังคับตามประกาศฉบับนี้ โดยผู้ส่งออกจะต้องเป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้ส่วนตัว หรือ เพื่อเป็นตัวอย่าง หรือ การวิเคราะห์เท่าที่ จำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้การส่งปลาทูน่าบรรจุภาชนะอัดลมออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
การขอ Heath Certificate
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ตลาด : ปลาทูน่ากระป๋องในซาอุดิอาระเบีย (บังคับใช้)ในเดือนเมษายน 2543 ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ประกาศระงับการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องของไทย โดยแจ้งว่าน้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้บรรจุปลาทูน่ากระป๋องเป็นน้ำมันที่ผลิตจากถั่วเหลืองที่มาจากการตัดแต่งพันธุกรรม ( Genetically Modified Organism : GMO ) ภาครัฐของไทยได้ร่วมกับภาคเอกชน คือ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เดินทางไปเจรจาปัญหานี้ที่กรุงริยาร์ด ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 30 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม 2543 ผลการเจรจาสามารถตกลงกันได้ โดยกำหนดให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋องที่ส่งไปซาอุฯ ต้องติดฉลากเป็นภาษาอารบิกและภาษาอังกฤษ ระบุว่าไม่มีส่วนประกอบที่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรม และต้องมีใบรับรองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่รับรองคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและไม่มีส่วนผสมที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรม นอกจากนั้น ข้อตกลงยังกำหนดให้มี Third party คือ บริษัท Intertek Testing Services จก. (ITS) มาตรวจประเมินรับรองโรงงานและผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋อง 4 ครั้งในปีแรก ถ้าผลการตรวจเป็นที่พอใจก็จะลดการตรวจโรงงานนั้น เหลือ 2 ครั้งในปีต่อไป มีโรงงานในโครงการนี้ 15 โรงงาน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาปรากฎว่า มีโรงงานที่ผ่านการรับรองในปีแรกร้อยละ 93 และปีที่สองร้อยละ 100 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการเป็นปีที่ 3
หมายเหตุ : ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เลขากลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า
กรมประมง
ตลาด : สหภาพยุโรป (บังคับใช้) , ประเทศที่ให้การยอมรับ Heath Certificate ของกรมประมง เช่น สาธารณเชค สโลวัค โปแลนด์ โรมาเนีย รัสเซีย ฮังการี นอร์เวย์ จีน เป็นต้น
ผู้นำเข้าที่ต้องการใบรับรองสุขอนามัยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (Health Certificate) จากกรมประมง(กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ)เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้น มีการควบคุมและดูแลคุณภาพวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต และคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมประมงหรือประเทศผู้นำเข้ากำหนด ผู้ที่ประสงค์ขอใบรับรองดังกล่าว ต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการขอใบรับรองสุขอนามัยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการส่งออก พ.ศ. 2544 ซึ่งมีข้อกำหนดให้เป็นสมาชิกสมาคมที่เกี่ยวข้องในการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกที่ได้รับการรับรองจากกรมประมงแล้ว เช่น ในกรณีของโรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง สัตว์น้ำแปรรูป และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสัตว์น้ำ ต้องยื่นหลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป นอกจากนี้ กรมฯได้มอบหมายให้สมาคมฯจำหน่ายแบบฟอร์มHeath Certificate ของสหภาพยุโรปให้กับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิต เพื่อกำกับดูแลและประสานงานต่างๆให้เป็นไปโดยเรียบร้อย โดยสมาคมฯได้ออกระเบียบจำหน่ายแบบฟอร์มดังกล่าวให้กับสมาชิกสมาคมฯประเภทสามัญเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตที่ได้คุณภาพมาตรฐาน
http://www.thaifood.org
Sunday, January 14, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment