Tuesday, January 23, 2007


หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออก (pdf)

กรมประมงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไทยได้มาตรฐานและสามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออกมีขั้นตอนปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1. การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการผู้ประกอบการที่ขอรับบริการจากกรมประมงต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมประมงและสมาคมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้1.1 ขึ้นทะเบียนกรมประมง
1.2 ขึ้นทะเบียนสมาคมฯ.
2. การตรวจรับรองโรงงานและผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขอการรับรองโรงงานจากกรมประมงให้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ (แบบคำร้องขอให้ตรวจสุขลักษณะโรงงาน, แบบคำร้องขอสุ่มตัวอย่าง)ให้เจ้าหน้าที่กรมประมงไปตรวจโรงงาน พร้อมเอกสารหลักฐานต่อไปนี้
1. สำเนาหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ 2. สำเนาทะเบียนการค้า 3. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท 4. สำเนาใบอนุญาตการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม หรือสำเนา ใบอนุญาตประกอบอาหารจากกระทรวงสาธารณสุข (ถ้ามี) 5. สำเนาบัตรขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ หรือสำเนาใบรับแบบแจ้งคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ของกรมประมง 6. หนังสือมอบอำนาจในการติดต่อและเซ็นรับเอกสารใบรับรอง 7. หลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย หรือสมาคมกุ้งไทยสำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง หรือ หลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสำเร็จรูป บรรจุกระป๋อง/Pouch อาหารแห้ง อาหารหมักดอง อาหารพื้นเมือง หรือ หลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมโรงงานน้ำปลา สำหรับโรงงานน้ำปลาหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกซึ่งได้รับการรับรองจากกรมประมงแล้ว 8. แผนที่โรงงาน
มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้1. ตรวจสุขลักษณะโรงงานและระบบควบคุมคุณภาพHACCP (ข้อกำหนด)2. สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ โดยเจ้าหน้าที่กรมประมง (ตารางการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ แช่เยือกแข็ง บรรจุกระป๋อง พื้นเมือง)3. ตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ (ข้อกำหนดทางกายภาพ เคมี จุลชีววิทยา)4. ขอเอกสารใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate)
โรคปลาสวยงามที่ส่งออก

บรรดาสัตว์น้ำที่มีชีวิตที่จะส่งออกไปต่างประเทศ และทางประเทศปลายทางต้องการใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ (Aquatic Animal Health Certificate) นั้น ผู้ส่งออกต้องสุ่มตัวอย่างสัตว์น้ำเหล่านั้น มาตรวจโรค เพื่อขอใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำดังกล่าว ตามระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการขอใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำมีชีวิต เพื่อการส่งสินค้าสัตว์น้ำ ออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2532 สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ เป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่มีหน้าที่ในการให้บริการตรวจโรค และออกใบรับรองดังกล่าว สัตว์น้ำที่ผู้ส่งออกนำมาตรวจ มีหลายประเภท เช่น ตะพาบน้ำ กบ กุ้งทะเล กุ้งก้ามกราม กั้ง ปูทะเล หอยแครง ปลาเนื้อ และกลุ่มปลาสวยงาม โดยเฉพาะกลุ่มปลาสวยงาม มีหลายชนิดที่เป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศ ทางแถบทวีปยุโรป ปลาสวยงามเหล่านี้มีทั้งที่มาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง และจากการรวบรวม จากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ ทั่วประเทศ
โดยผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะรับซื้อปลาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง และจากผู้รวบรวมปลาจากธรรมชาติ มีบางรายที่ดำเนินการเพาะเลี้ยงเองบ้างบางส่วน จากการที่ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ ไม่ได้เพาะเลี้ยงปลาเอง เพียงแต่รับซื้อปลามาพักไว้ชั่วคราว แล้วจึงดำเนินการส่งออกต่างประเทศ ทำให้ไม่ได้จัดการป้องกัน และรักษาโรคก่อนนำมาตรวจ และบางรายก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ รวมทั้งผู้เพาะเลี้ยงเอง ก็ไม่ได้ทำการกำจัดโรคปรสิตก่อนที่จะส่งปลาให้กับผู้ส่งออก ดังนั้นเมื่อนำปลามาตรวจโรค จึงมักตรวจพบโรคปรสิตอยู่เสมอๆ ทำให้ปลาเหล่านี้ไม่สามารถส่งออกได้ ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้เลี้ยงปลา และผู้ส่งออกอยู่มากเหมือนกัน
เนื่องจากตามระเบียบกรมประมงผู้ส่งออกจะต้องนำปลาที่มีลักษณะภายนอกปกติ ไม่มีลักษณะแสดงอาการของปลาเป็นโรค ดังนั้นมาตรฐานของการปลอดโรค ที่จะส่งออกได้จึงเน้นหนัก ไปในการตรวจหาปรสิต โดยเฉพาะปรสิตภายนอก และอาจมีการตรวจปรสิตภายในด้วย สำหรับปลาบางชนิด เช่น การตรวจหา Hexamita sp. ในปลาปอมปาดัว ดังนั้นหากตรวจพบปรสิตชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ทางสถาบันฯ ก็ไม่สามารถออกใบรับรอง สุขภาพสัตว์น้ำให้กับผู้ส่งออกได้
http://www.fisheries.go.th/dof_thai/Division/Health_new/aahri-new/thai/newsletter_th/Y_05_V_2.htm

EU แก้ไขกฎระเบียบมาตรการสำหรับสินค้าที่ทำจากสัตว์เพื่อการบริโภคบางประเภท
ด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้ประกาศตีพิมพ์ลงใน EU Official Journal L 320 Volume 13 กฎระเบียบ Commission Regulation (EC) No 1664/2006 of 6 November 2006 amending Regulation (EC) No 2074/2005 as regards implementing measures for certain products of animal origin intended for human consumption and repealing certain implementing measures ว่าด้วย มาตรการดำเนินการสำหรับสินค้าที่ทำจากสัตว์เพื่อการบริโภคบางประเภท
1. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการปรับปรุงกฎระเบียบเดิม คือ กฎระเบียบ Regulation (EC) No 2074/2005 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขสุขอนามัยและสุขอนามัยสัตว์ รวมถึงการกำหนดแบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยสัตว์ (model veterinary certificate) ขึ้นใหม่ สำหรับสินค้าที่ทำจากสัตว์จากประเทศที่สามที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรปในบางประเภท ตามภาคผนวกที่ 2 (Annex II) เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ 3 ฉบับ
ซึ่งเป็นกฎระเบียบแม่ในการควบคุมห่วงโซ่สุขอนามัยอาหารที่ทำมาจากสัตว์ทั้งหมด ทั้งนี้ ได้รวมการกำหนดวิธีตรวจหา (detection method) พิษอัมพาตจากหอย (Paralytic Shellfish Poison : PSP) ซึ่งพิษอัมพาตจากหอยเป็นสารพิษที่เกิดในแพลงก์ตอนโกนีโอแลกซ์ คาทาเนลลา และโกนีโอแลกซ์ ทามาเรนซิส (Gonyaulax catanella and Gonyaulax tamarensis) ซึ่งเป็นอาหารของหอย หอยจะดูดซึมสารพิษนี้จากแพลงก์ตอนและสะสมไว้ในตัว เมื่อรับประทานหอยที่มีสารพิษนี้ จะออกฤทธิ์กับระบบประสาทหลังบริโภคประมาณ 30 นาที จะมีอาการชาที่ปาก กล้ามเนื้อเกิดอัมพาต หากได้รับปริมาณมากจะเสียชีวิตภายใน 12 ชั่วโมง เนื่องจากระบบหายใจขัดข้อง การรักษามักใช้วิธีให้ผู้ป่วยอาเจียนหรือล้างกระเพาะด้วยผงถ่านเพื่อดูดซับสารพิษออกให้มากที่สุด รวมทั้งใช้เครื่องช่วยหายใจ ตามภาคผนวกที่ 1 (Annex I) และวิธีตรวจสอบ (testing methods) นมดิบ (raw milk) และนมที่ผ่านความร้อนสูง (heat-treated milk) ตามภาคผนวกที่ 3 (Annex III) ขึ้นใหม่ด้วยเช่นกัน
2. กฎระเบียบ Commission Regulation (EC) No 1664/2006 นี้กำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกจำต้องใช้แบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยสัตว์ครอบคลุมสินค้ากบ หอยทาก เจลลาติน คอลลาเจน สินค้าประมง หอยสองฝา และน้ำผึ้ง อันได้แก่3. กฎระเบียบดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุโรปด้านห่วงโซ่อาหารและสุขภาพสัตว์ (EU Standing Committee on the Food Chain and Animal Health) ด้วยแล้ว
4. ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลปรับใช้ภายในทุกประเทศสมาชิก EU-25 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไป (มีผล 7 วันภายหลังจากวันที่ประกาศใน EU official Journal) อย่างไรก็ดี EU ได้กำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านให้แก่ประเทศสมาชิก ตามระบุในมาตราที่ 3 ของกฎระเบียบฉบับนี้ว่า ยกเว้นให้แต่เฉพาะภาคผนวกที่ 3 (Annex III) ว่าด้วย วิธีตรวจสอบ (testing methods) นมดิบ (raw milk) และนมที่ผ่านความร้อนสูง (heat-treated milk) ให้มีผลปรับใช้ภายใน 6 เดือนเป็นอย่างช้านับจากวันที่ประกาศใน EU official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 โดยกฎระเบียบใหม่นี้ จะถือเป็นการยกเลิกกฎระเบียบเดิมทุกรายการที่ปรากฏในภาคผนวก 4 (Annex IV) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นไป

http://news.thaieurope.net/content/view/2002/94/

Sunday, January 21, 2007

การชำระเงินทางการค้าระหว่างประเทศ
(PAYMENT IN INTERNATIONAL TRADE)
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. การชำระเงินด้วยเงินสด หรือ ชำระเงินล่วงหน้า (CASH WITH ORDER OR ADVANCE PAYMENT)
2. การชำระเงินด้วยวิธีการเปิดบัญชีขายเชื่อ (OPEN ACCOUNT)
3. การชำระเงินโดยใช้เอกสารเรียกเก็บผ่านธนาคาร (BILL FOR COLLOERTION)
4. การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (DOC -003.htmUMENTARY LETTER OF CREDIT)
http://www.ebcitrade.com
กฎหมายที่ควบคุมการนำเข้า-ส่งออกมี 3 พระราชบัญญัติ. พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490-
พระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2525- พระราชกฤษฎีการะบุสัตว์น้ำและลักษณะของสัตว์น้ำที่มีอันตรายบางชนิดที่ห้ามมิให้มีไว้ในครอบครองนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือนำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2530- พระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2536
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535-
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ,3,4,6,8 และ 10 ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์น้ำ พ.ศ. 2535-
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดชนิดของสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าที่ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี
- ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
-พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522
- พระราชกฤษฎีควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 41) พ.ศ. 2518
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2523), ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2524) ,ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2524)
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 41) พ.ศ. 2530, (ฉบับที่ 46) พ.ศ.2531, (ฉบับที่ 56) พ.ศ. 2534 และ (ฉบับที่ 58) พ.ศ.2534
สัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายดังกล่าว มีบางชนิดห้ามนำเข้า-ส่งออกบางชนิดสามารถนำเข้า-ส่งออกได้ โดยต้องหนังสืออนุญาตจากกรมประมง ซึ่งผู้มีความประสงค์นำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำชนิดใดจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องข้อกำหนดในกฏหมายนั้น ๆ
http://www.nicaonline.com/new-82.htm

Sunday, January 14, 2007

กฎระเบียบการส่งออก ประเทศสหรัฐอเมริกา
1. กฎเพื่อป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ
2. มาตรการการติดฉลากไขมันไม่อิ่มตัว (Trans Fat)
ต้องระบุไขมันไม่อิ่มตัวในฉลากโภชนาการเพิ่มเติมจากเดิมกำหนดไว้เฉพาะไขมันอิ่มตัว เนื่องจากมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า การบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวมีผลทำให้ระดับคลอเรสเตอรอลสูงที่เป็นโทษต่อสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไขมันไม่อิ่มตัวจะพบบ่อยในอาหารสำเร็จรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาการีนแข็ง แครกเกอร์ ลูกกวาด อาหารคบเคี้ยว อาหารทอดและอาหารอบ
3. มาตรการการติดฉลากอาหารก่อให้เกิดภูมิแพ้ Food Allergen labeling and Consumer Protection Act 2004)

ประเภทสินค้าที่ต้องติดฉลาก COOL
1. สินค้าประมง เช่น ปลา และสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เช่น หอย กุ้ง ฯลฯ ทั้งที่มาจากการจับ จากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรือจากฟาร์มเพาะเลี้ยง
2. เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู ฯลฯ
3. สินค้าเกษตรที่เน่าเสียง่าย เช่น ผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ฯลฯ
4. ถั่วต่างๆ
ข้อยกเว้น
1. ทั้งนี้สินค้าทั้ง 4 ประเภทจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องติดฉลาก COOL หากถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารพร้อมปรุงสุก หรือผ่านกระบวนการแปรรูป ซึ่งทำให้มีลักษณะทางกายภาพหรือทางเคมีเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เบคอน แฮม น้ำส้มคั้น เนยถั่ว กุ้งชุบเกร็ดขนมปังและผักสลัดรวม
2. การขายสินค้าให้กับธุรกิจบางประเภทที่ไม่ใช่ธุรกิจค้าปลีก เช่น ธุรกิจอาหารแปรรูป ภัตตาคาร โรงแรมและโรงพยาบาล จะได้รับการบกเว้นไม่ให้ติดฉลาก COOL เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้ต้องนำสินค้าไปปรุงอาหารหรือผ่านกระบวนการแปรรูปอื่นๆ ต่อไป
5. มาตรการอื่นๆ
5.1 มาตรการ AD/CVD สหรัฐฯ ใช้มาตรการ AD กับสินค้ากุ้งน้ำอุ่นแช่เย็นแช่แข็งหรือแช่แข็ง และกุ้งแปรรูปในอัตรา 5.29- 6.825.2 สิ่งที่ต้องปฏิบัติอื่นๆ คือ
ห้ามใช้ Chloramphenicol ผสมอาการเลี้ยงสัตว์ อนุญาตให้เจือปนได้ไม่เกิน 0.3 ppb
มีไนโตรฟูแรนได้ไม่เกิน 1 ppb
ต้องไม่พบเชื้อ Salmonella และ Filth
ถ้าเป็นกุ้งทะเลต้องจับโดยเครื่องมือ TEDs
หากเป็นปลาทูน่ากระป๋องต้องมีเอกสาร The National Marine Fisheries Certificate of Origin (NOAA Form 370)
http://www.thai-frozen.or.th/th/facts_fig/r_usa.as
p
การควบคุมการส่งออกสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลกระป๋อง
ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแปรรูป และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสัตว์น้ำ โดยหน่วยงานภาครัฐ
กระทรวงพาณิชย์ ออกประกาศว่าด้วยการกำหนดมาตรการการจัดระเบียบในการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2528 ลงวันที่ 30 มกราคม 2528 กำหนดให้สินค้าปลาทูน่า(Thunnidae)บรรจุภาชนะอัดลมที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เป็นสินค้าที่อยู่ในบังคับตามประกาศฉบับนี้ โดยผู้ส่งออกจะต้องเป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้ส่วนตัว หรือ เพื่อเป็นตัวอย่าง หรือ การวิเคราะห์เท่าที่ จำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้การส่งปลาทูน่าบรรจุภาชนะอัดลมออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
การขอ Heath Certificate

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ตลาด : ปลาทูน่ากระป๋องในซาอุดิอาระเบีย (บังคับใช้)ในเดือนเมษายน 2543 ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ประกาศระงับการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องของไทย โดยแจ้งว่าน้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้บรรจุปลาทูน่ากระป๋องเป็นน้ำมันที่ผลิตจากถั่วเหลืองที่มาจากการตัดแต่งพันธุกรรม ( Genetically Modified Organism : GMO ) ภาครัฐของไทยได้ร่วมกับภาคเอกชน คือ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เดินทางไปเจรจาปัญหานี้ที่กรุงริยาร์ด ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 30 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม 2543 ผลการเจรจาสามารถตกลงกันได้ โดยกำหนดให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋องที่ส่งไปซาอุฯ ต้องติดฉลากเป็นภาษาอารบิกและภาษาอังกฤษ ระบุว่าไม่มีส่วนประกอบที่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรม และต้องมีใบรับรองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่รับรองคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและไม่มีส่วนผสมที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรม นอกจากนั้น ข้อตกลงยังกำหนดให้มี Third party คือ บริษัท Intertek Testing Services จก. (ITS) มาตรวจประเมินรับรองโรงงานและผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋อง 4 ครั้งในปีแรก ถ้าผลการตรวจเป็นที่พอใจก็จะลดการตรวจโรงงานนั้น เหลือ 2 ครั้งในปีต่อไป มีโรงงานในโครงการนี้ 15 โรงงาน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาปรากฎว่า มีโรงงานที่ผ่านการรับรองในปีแรกร้อยละ 93 และปีที่สองร้อยละ 100 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการเป็นปีที่ 3

หมายเหตุ : ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เลขากลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า

กรมประมง

ตลาด : สหภาพยุโรป (บังคับใช้) , ประเทศที่ให้การยอมรับ Heath Certificate ของกรมประมง เช่น สาธารณเชค สโลวัค โปแลนด์ โรมาเนีย รัสเซีย ฮังการี นอร์เวย์ จีน เป็นต้น
ผู้นำเข้าที่ต้องการใบรับรองสุขอนามัยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (Health Certificate) จากกรมประมง(กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ)เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้น มีการควบคุมและดูแลคุณภาพวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต และคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมประมงหรือประเทศผู้นำเข้ากำหนด ผู้ที่ประสงค์ขอใบรับรองดังกล่าว ต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการขอใบรับรองสุขอนามัยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการส่งออก พ.ศ. 2544 ซึ่งมีข้อกำหนดให้เป็นสมาชิกสมาคมที่เกี่ยวข้องในการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกที่ได้รับการรับรองจากกรมประมงแล้ว เช่น ในกรณีของโรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง สัตว์น้ำแปรรูป และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสัตว์น้ำ ต้องยื่นหลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป นอกจากนี้ กรมฯได้มอบหมายให้สมาคมฯจำหน่ายแบบฟอร์มHeath Certificate ของสหภาพยุโรปให้กับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิต เพื่อกำกับดูแลและประสานงานต่างๆให้เป็นไปโดยเรียบร้อย โดยสมาคมฯได้ออกระเบียบจำหน่ายแบบฟอร์มดังกล่าวให้กับสมาชิกสมาคมฯประเภทสามัญเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตที่ได้คุณภาพมาตรฐาน

http://www.thaifood.org
คำแนะนำในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
1. อะไรคือวัตถุอันตราย ที่ต้องควบคุม?
ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ หากต้องการทราบว่าเคมีภัณฑ์/ ผลิตภัณฑ์ นั้นเข้าข่ายควบคุมหรือไม่ควบคุมตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 หรือไม่นั้น ให้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอสอบถาม/หารือ ต่อ สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องจัดหาเอกสารประกอบการพิจารณาด้วย ดังนี้
-1. เอกสารแสดงส่วนผสมของเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ ซึ่งระบุชื่อทางเคมี หรือสูตรเคมี และ/หรือ CAS. NUMBER โดยอัตราส่วนผสมของสารเคมีทั้งหมดรวมกันครบ 100% จากบริษัทผู้ผลิต และประทับตราบริษัท ลงชื่อผู้มีอำนาจ
-2. สำเนาใบรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
-3. สำเนาบัตรประจำตัวกรรมการผู้มีอำนาจ
-4. ถ้าผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินการได้เองให้ทำหนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
หนังสือสอบถาม/หารือ นี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้ว เคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ นั้นเข้าข่ายเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1, 2 หรือ 3 จะต้องมาดำเนินการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ต่อไป
2. การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
ผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ 3 ก่อนประกอบกิจการการผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตราย ต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ยกเว้นจะได้รับการยกเว้นตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
เอกสารประกอบการยื่นขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายมีดังนี้
-1. คำขอขึ้นทะเบียนตามแบบ วอ/อก1 (ขอรับได้ที่สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ชั้น 5 ห้อง 506 )
-2. ข้อมูลความปลอดภัย ตามแบบ วอ/อก3 (ขอรับได้ที่สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ชั้น 5 ห้อง 506 )
-3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
-4. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีที่ขอขึ้นทะเบียน ในนามนิติบุคคล) ที่ระบุผู้มีอำนาจลงนามและวัตถุประสงค์
-5. ข้อกำหนดเฉพาะวัตถุอันตราย (SPECIFICATION)
-6. เอกสารหรือภาพถ่ายแสดงลักษณะภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย
-7. อื่นๆ ได้แก่ ใบมอบอำนาจ (กรณีให้ผู้อื่นทำการแทน)
3. การแจ้งดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2
ผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 เมื่อขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายเรียบร้อยแล้ว ต้องยื่นแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ตามแบบวอ./อก.5 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณารับแจ้งแล้วจึงเริ่มดำเนินการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้ ภายหลังการรับแจ้ง พนักงานเจ้าหน้าที่จะเดินทางไปตรวจสอบสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายว่าตรงตามที่แจ้งหรือไม่ และตรวจสอบว่าทำเลที่ตั้ง อาคาร การจัดเก็บวัตถุอันตราย มีลักษณะถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หากไม่ถูกต้องจะได้สั่งแก้ไขหรือเพิกถอนใบรับแจ้งต่อไปการที่ทางราชการออกใบรับแจ้งให้มิได้รับรองว่าสถานที่เก็บวัตถุอันตรายนั้นมีลักษณะถูกต้องตามกฎหมาย
เอกสารประกอบการยื่นแจ้งเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่
-1. ใบแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ตามแบบ วอ./อก.5 (ขอรับได้ที่สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ชั้น 5 ห้อง 506 )
-2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน(กรณีบุคคลธรรมดา)
-3. สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ และสำเนาใบสำคัญแสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการของนิติบุคคลผู้แจ้งการดำเนินการ
-4. แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ประกอบการและบริเวณใกล้เคียง
-5. แผนผังของสถานประกอบการ
-6. สำเนาใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (ถ้ามี)
-7. สำเนาใบเสร็จค่าธรรมเนียมรายปี(ถ้ามี)
-8. เอกสารแสดงกรรมวิธีการผลิต(กรณีแจ้งผลิต)
-9. ใบมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง)
4. การขออนุญาต
ผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ก่อนการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและได้รับใบอนุญาตก่อน การขออนุญาตแบ่งตามความประสงค์ของผู้ประกอบการดังนี้
-1. ใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตราย
-2. ใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย
-3. ใบอนุญาตส่งออกวัตถุอันตราย
-4. ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขออนุญาตแล้วตรวจเอกสารถูกต้องครบถ้วนจะได้ติดต่อผู้ยื่นคำขอเพื่อนัดตรวจสถานที่เก็บวัตถุอันตรายว่าตรงตามคำขอ และตรวจทำเลที่ตั้ง อาคาร การจัดเก็บวัตถุอันตราย มีลักษณะถูกต้องตรงตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจึงพิจารณาออกใบอนุญาตให้
http://www.thaifactory.com/Operate/ImportHazard.htm
ชนิดวัตถุอันตราย
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย มาตรา 18วัตถุอันตรายแบ่งออกตามความจำเป็นแก่การควบคุม ดังนี้
วัตถุอันตรายชนิดที่ 1
ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย
วัตถุอันตรายชนิดที่ 2
ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย
วัตถุอันตรายชนิดที่ 3
ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต
วัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง

http://www.chemtrack.org/DiwType-Intro.asp
กฎระเบียบการค้าต่างประเทศ
กฎ/ระเบียบ/เงื่อนไขทางการค้าของต่างประเทศ < กรมการค้าต่างประเทศ >ศูนย์ประสานการส่งออก-นำเข้าสินค้า < กรมการค้าต่างประเทศ >ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade: TBT)ข้อมูลการขอเอกสาร A.T.A. Carnet (Admission Temporarie-Temporary Admission) เพื่อประกอบการส่งสินค้าออกไปประเทศต่างๆเป็นการชั่วคราว (เช่น สินค้าตัวอย่างแสดงงาน Fair) กฎระเบียบการค้าและการนำเข้าของสวีเดน ข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ด้านกฎ ระเบียบ สถิติการนำเข้าสินค้า จำแนกเป็นรายสินค้า รายประเทศคู่ค้า
http://www.depthai.go.th/581.page

Tuesday, January 9, 2007

กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป (ไม่รวมกุ้งกระป๋อง)
โครงสร้างสินค้าส่งออก (ร้อยละ)
– กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 53.80 - กุ้งแปรรูป 46.20
โครงสร้างราคา (ร้อยละ)
- ในประเทศ 86.4
- นอกประเทศ 9.6
- Approximate Margin 4.0
ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ - ค่าพันธุ์กุ้ง ร้อยละ 12 ค่าอาหาร ร้อยละ 34
ค่าแรงงาน ร้อยละ 14 และค่าใช้จ่ายอื่น ร้อยละ 40
ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม
- ค่าพันธุ์กุ้ง ร้อยละ 27 ค่าอาหาร ร้อยละ 42
ค่าแรงงาน ร้อยละ 6 และค่าใช้จ่ายอื่น ร้อยละ 25
ผู้ผลิต
โรงงานผู้ผลิต รวม 180 โรงงาน พื้นที่การเลี้ยงกุ้ง(ประมาณ) 500,000 ไร่
ปริมาณผลผลิต 350,000-400,0000 ตันต่อปี
จำนวนแรงงานรวมทั้งสิ้น: 700,000 คน
เป้าหมายการส่งออกปี 2549: คาดว่าจะมีมูลค่า 2,017 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปี 2548 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งประเทศ ในเดือน ม.ค-มี.ค ปี 2549 การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป มีมูลค่า 400.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.21 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.84 ของเป้าหมายการส่งออก โดยมีปริมาณส่งออก 61,380 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มการส่งอออกปี 2549
แนวโน้มมูลค่าการส่งออกสินค้ากุ้งของไทยในปี 2549 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากในช่วงปลายปี 2548 ราคากุ้งในตลาดโลกมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เลี้ยงมีแรงจูงใจในการเพิ่ม ผลผลิตกุ้ง นอกจากนี้ ประเทศที่ไม่ถูกฟ้องทุ่มตลาดจากสหรัฐ อาทิ อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ มีการเพิ่มผลผลิตกุ้งจำนวนมาก แต่การที่มูลค่าการส่งออกจะบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอาทิ การหาเงินทุนหมุนเวียนของผู้ส่งออกเพื่อการวาง Bond ค้ำประกันตามอัตราภาษีทุ่มตลาดของสหรัฐฯ ในปี 2549 และการเกิดโรคระบาดกุ้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม GSP ของสหภาพยุโรปในตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 49 นี้จะส่งผลให้การส่งออกกุ้งของไทยในสหภาพยุโรปขยายตัวสูงขึ้น
คู่แข่งสำคัญของไทย ได้แก่ จีน อเมริกาใต้ ในสินค้ากุ้งขาว เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย ในสินค้ากุ้งกุลาดำ ซึ่งคู่แข่งของไทยมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่าไทย แต่สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงกว่าประเทศคู่แข่งดังกล่าว
ตลาดหลัก : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย
คิดเป็นสัดส่วนรวมร้อยละ 89.12
ตลาดใหม่ที่มีอัตราการขยายตัวสูง : อิตาลี ร้อยละ 267.23 อียิปต์ ร้อยละ 388.11 สเปน ร้อยละ 3,856.57 ฝรั่งเศส ร้อยละ 128.67 และรัสเซีย ร้อยละ 285.54

www.depthai.go.th/go/home

Sunday, January 7, 2007

กุ้งกุลาดำผลผลิตยังออกสู่ตลาดในปริมาณมากเนื่องจากเป็นช่วงฤดูการจับกุ้ง ประกอบกับมีกุ้งขาวที่มีราคาและต้นทุนถูกกว่าเข้ามาแข่งขันและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ส่งผลให้ราคากุ้งกุลาดำยังอยู่ในภาวะทรงตัวและต่ำกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการรณรงค์ให้มีการบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้นโดยร่วมกับองค์กรผู้เลี้ยงกุ้งจำหน่าย "กุ้งธงฟ้า…..สดจากฟาร์ม สู่ผู้บริโภค" ผ่านห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ทุกสาขา ทั่วประเทศ ระหว่าง 17 พ.ย.-16 ธ.ค.46 และจับคู่เชื่อมโยงระหว่างจังหวัดแหล่งผลิตและแหล่งบริโภค ส่งผลให้ราคากุ้งปรับตัวดีขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา โดยราคากุ้งกุลาดำขนาด 50 ตัว/กก. ที่ซื้อขาย ณ ตลาดกลางสมุทรสาคร มีราคาเฉลี่ย กก.ละ 164 บาท และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกเนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งโดยจะดำเนินการรับจำนำกุ้งกุลาดำปริมาณ 10,000 ตัน ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2546 ถึงมีนาคม 2547
http://www.dit.go.th/agriculture/product/trend/trend_
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์บกและสัตว์น้ำสามารถทำได้ดังนี้

การแช่เย็นและการแช่แข็ง ( chilling and freezing)
ผลิตภัณฑ์ไก่ ปลา กุ้ง และปลาหมึกแช่แข็งนำรายได้จำนวนมากเข้าประเทศ (ภาพประกอบ 3-6) ศักยภาพในการผลิตอาหารแช่แข็งของประเทศไทยสูงทั้งจำนวนโรงงาน เทคโนโลยี และแรงงานที่มีฝีมือ ทำให้วัตถุดิบในการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ประมงมีไม่เพียงพอสำหรับปริมาณการผลิตอาหารแปรรูปที่ต้องการ ต้องมีการนำเข้าปลาหลายชนิดเพื่อนำมาทำการแช่แข็ง วิธีการแปรรูปที่สำคัญ ได้แก่ การทำความสะอาดวัตถุดิบ ตัดแต่ง และนำเข้าแช่แข็งที่อุณหภูมิ - 30 ถึง –40 ํซ นอกจากแช่แข็งในสภาพสดแล้วยังอาจมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า (value-added products) เช่น การต้ม การชุบแป้ง ก่อนแช่แข็ง หรือทอดผลิตภัณฑ์ก่อนนำไปแช่แข็ง เป็นต้น หลังจากผลิตภัณฑ์เป็นน้ำแข็งแล้ว ควรทำการเก็บและการขนส่งที่อุณหภูมิประมาณ -20 ํซ น้ำที่มีอยู่ในอาหารนอกจากจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสนุ่มและชุ่มน้ำแล้ว ยังช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการแปรรูปเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ เช่น ไก่และอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง แฮม ไส้กรอก ลูกชิ้น จึงพยายามรักษาน้ำหนักของผลิตภัณฑ์โดยการเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำด้วยการเติมสารประกอบฟอสเฟต โปรตีนจากนมหรือถั่วเหลือง และไฮโดรคอลลอยด์ เช่น กัมแอลจิเนต กัมคาราจีแนน เป็นต้น
การฆ่าเชื้อโดยการใช้ความร้อน (canning)
อาหารในกลุ่มของเนื้อสัตว์บรรจุกระป๋องส่วนใหญ่มักทำเป็นอาหารไทยบรรจุกระป๋องเพื่อจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น แกงต่าง ๆ หรือผัดพริก ฯลฯ นอกจากบรรจุกระป๋องแบบเดิมแล้ว อาจมีการพัฒนาเป็นฝากระป๋องให้เปิดง่ายที่เรียก ฝาห่วงดึง และยังอาจมีภาชนะบรรจุอื่น ๆ เช่น ขวดแก้ว หรือรีทอร์ทเพาช์ เป็นต้น ปัจจุบันการบริโภคอาหารไทยบรรจุกระป๋องภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจึงเริ่มให้ความสนใจกับตลาดในประเทศมากขึ้น
การหมักและการรมควัน ( curing and smoking)
การทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเดียวกันจากเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น หมูยอ ไส้กรอก ซึ่งทำจากเนื้อหมู หรือไก่บดหรือชิ้นเนื้อที่ไม่ได้ขนาดจากโรงงานเนื้อหรือไก่สดแช่แข็ง นำมาสับและผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันกับส่วนของไขมัน เกลือ เครื่องเทศ โซเดียมไนไตรท์หรือไนเตรท น้ำตาล เกลือฟอสเฟต อาจมีการเติมโปรตีนเข้มข้น เช่น เคซีน โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นหรือไอโซเลต เป็นต้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำไว้ในผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์อ่อนนุ่มไม่แห้งกระด้าง จากนั้นจึงบรรจุไส้ นำไปต้มให้สุก ผลิตภัณฑ์อาจผ่านการอบหรือรมควัน สำหรับแฮม ทำจากการหมักขาหมูในน้ำเกลือที่มีสารแต่งกลิ่นรสและสารไนไตรท์ แฮมที่ได้อาจผ่านการรมควันหรือไม่รมควันก็ได้ ควันที่ใช้อาจมาจากการวัสดุธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย ขี้เลื่อย ฯลฯ หรืออาจใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์ที่ให้กลิ่นควัน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจบรรจุในถุงพลาสติกหรือบรรจุสุญญากาศ และจะต้องเก็บผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิตู้เย็นหรือแช่แข็ง เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บ
ที่มา : http://www.swu.ac.th/royal/book5/b5c3t2_2.html