BLOG ที่น่าสนใจ
กลุ่มปวส1
กลุ่มที่ 14 เพราะมีการพัฒนามากกว่ากลุ่มอื่นๆมีการหาภาพจากที่อื่นมาใส่เพื่อตกแต่งให้เนื้อหาดูน่าสนใจ
กลุ่มที่ 16 เพราะมีเนื้อหาที่น่าสนใจจัดรูปแบบได้สวย
กลุ่มที่ 13 มีเนื้อหาครบถ้วนมีการพัฒนาหน้าBLOG ให้สวยน่าสนใจ
กลุ่มปวส2
กลุ่มที่ 2 เพราะมีการพัฒนาหน้าBLOGให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เนื้อหาน่าสนใจมีการนำภาพสวยๆมาตกแต่ง
กลุ่มที่ 5 เพราะมีการพัฒนารูปแบบที่สวยงาม น่าอ่านมีการตกแต่งที่ชวนสนใจ
กลุ่มที่ 1 เพราะมีการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
Thursday, March 1, 2007
ความเสี่ยงของธุรกิจสินค้าเกษตร
สินค้าเกษตรที่มีการกล่าวถึงกันมากในช่วงที่ผ่านมาคือผลิตภัณฑ์ไก่ และกุ้ง เนื่องจากปัญหาทางด้านราคาที่ลดลงตลอดตั้งแต่ปลายปี 2544 เป็นต้นมาและลดลงมาที่ระดับต่ำที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2546 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มการผลิตของผู้ผลิตในประเทศ ในขณะที่ผู้ส่งออกต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้ารวมถึงการแข่งขันอย่างรุนแรงจากตลาดต่างประเทศ ทำให้เกิดสถานการณ์ผลิตผลส่วนเกินในประเทศปัจจัยที่กระทบต่อความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการเกษตรความผันผวนของความต้องการบริโภค ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าเกษตรว่ามีความจำเป็นเพียงใด ได้แก่ ข้าวซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีความจำเป็นในการบริโภคสำหรับคนไทย หรือไก่ที่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีการบริโภคทั่วไป มักจะมีระดับความต้องการบริโภคที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่สินค้าเกษตรที่เป็นกลุ่มสินค้าราคาแพงซึ่งมีการบริโภคที่จำกัดเฉพาะผู้บริโภคบางกลุ่มเท่านั้น เช่น อาหารทะเลที่ราคาสูงจะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าสินค้าเกษตรในกลุ่มแรก2.ความเสี่ยงด้านการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อระดับราคาของสินค้าและผลตอบแทนของผู้ประกอบการโดยเฉพาะในปัจจุบันประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของไทยได้มีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้ผลผลิตที่ได้จากการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังเช่นกรณีของไก่เนื้อที่ราคาตกต่ำอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันนอกจากนี้ ปัจจัยด้านการผลิตยังมีความเสี่ยงจากการควบคุมคุณภาพของผลผลิต ได้แก่ ปัญหาโรคระบาดในสัตว์ ดังเช่นในกรณีของการผลิตเนื้อไก่ในต่างประเทศ ซึ่งมีปัญหาไข้หวัดนกระบาดอยู่เป็นช่วงๆ จึงต้องมีการกำจัดไก่ที่ติดโรคดังกล่าว ส่งผลให้ผลผลิตของไก่มีจำนวนลดลงเป็นบางช่วงทำให้เกิดความผันผวนของราคา ในขณะเดียวกันผู้ผลิตยังต้องมีการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ๆ มาใช้และการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีผลต่อผู้บริโภค เช่น ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือสารกลุ่มเบต้า อะโกนีสต์ในการเลี้ยงสุกร ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อหมูที่มีความปลอดภัยมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ สินค้าเกษตรของไทยหลายรายการมีการส่งออกในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เช่น กุ้งส่งออกของไทยที่มีปริมาณการส่งออกสูงถึง 90% ของผลผลิตกุ้ง โดยส่งออกในรูปของกุ้งแช่แข็ง ซึ่งในการส่งออกต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ อย่างกรณีที่มีการใช้มาตรการตรวจสอบสารเคมีตกค้างของสหภาพยุโรป ซึ่งนำมาใช้ในการตรวจสอบไก่และกุ้งที่ส่งออกไปยังประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป มีผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยลดลงอย่างมาก นอกจากนั้น ยังมีข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าของประเทศต่างๆ เช่น มาตรการทางภาษี อย่างกรณีที่สินค้าประมงไทยถูกสหภาพยุโรปตัดจีเอสพีตั้งแต่ปี 2540 โดยได้ตัด 100% ในปี 2542 ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าประมงไทยอยู่ในอัตราสูงสุดในขณะที่ประเทศคู่แข่งอื่นๆ เสียภาษีต่ำกว่ามากหรือไม่ต้องเสียเลย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียเปรียบทางการค้าของสินค้าเกษตรไทยเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ในการจัดอันดับเครดิตของบริษัทที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงทั้ง 3 ประการดังกล่าว โดยบริษัทที่ได้รับอันดับเครดิตที่ค่อนข้างสูงจะต้องมีความสามารถในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าวได้ ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีวิธีการลดความเสี่ยงทั้ง 3 ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้1. การกระจายชนิดของสินค้า เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) และบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเกษตรหลายประเภท ได้แก่ การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ ดำเนินธุรกิจฟาร์มไก่ ผลิตและจำหน่ายเนื้อไก่ กุ้ง รวมทั้งการแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปจากเนื้อไก่ กุ้ง เพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออก2. การพยายามควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำ โดยการนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต อย่างกรณีของ CPF ที่มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ให้จำนวนสัตว์เลี้ยงต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ตัวต่อคนเป็น 100,000 ตัวต่อคน รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้เป็นพันธุ์ที่ให้น้ำหนักต่อตัวเพิ่มขึ้น 3. การพยายามเข้าสู่ตลาดโดยการประยุกต์ใช้วิธีการเลี้ยงที่เป็นที่ยอมรับในตลาดผู้ส่งออก ได้แก่ Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ซึ่งเป็นระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย การนำหลักการ Animal Welfare มาใช้และการควบคุมการใช้สารเคมีที่ไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้า เป็นต้น ทำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้4. การผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนของการผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยง การผลิตและแปรรูป ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีกว่าผู้ประกอบการที่มีการผลิตเพียงบางส่วน ปัจจุบันผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ CPF (อันดับเครดิตองค์กร A+) บริษัท สหฟาร์ม จำกัด บริษัท จีเอฟพีที จำกัด และ บริษัทในเครือเบทาโกร ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และคาดว่ามีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันมากกว่า 90% อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไก่และกุ้งในปัจจุบัน ยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากต่างประเทศอยู่ต่อไป จากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ แม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์ของผลิตภัณฑ์จากไก่จะเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น จากการระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศทำให้ผลผลิตเนื้อไก่ลดลงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นความต้องการนำเข้าเนื้อไก่ไทยจึงเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอกชนให้ลดปริมาณการผลิตเนื้อไก่ลงตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 เป็นต้นมา ทำให้ราคาเนื้อไก่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในส่วนของกุ้งนั้น ผู้ส่งออกยังต้องเผชิญสถานการณ์การแข่งขันจากต่างประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม บราซิล อินเดีย และเอควาดอร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูต่อไปว่าจะกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกุ้งมากน้อยเพียงใด
http://www.trisrating.com/cgi-bin/trisrating/eng/articles/news_list.pl?id=17
สินค้าเกษตรที่มีการกล่าวถึงกันมากในช่วงที่ผ่านมาคือผลิตภัณฑ์ไก่ และกุ้ง เนื่องจากปัญหาทางด้านราคาที่ลดลงตลอดตั้งแต่ปลายปี 2544 เป็นต้นมาและลดลงมาที่ระดับต่ำที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2546 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มการผลิตของผู้ผลิตในประเทศ ในขณะที่ผู้ส่งออกต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้ารวมถึงการแข่งขันอย่างรุนแรงจากตลาดต่างประเทศ ทำให้เกิดสถานการณ์ผลิตผลส่วนเกินในประเทศปัจจัยที่กระทบต่อความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการเกษตรความผันผวนของความต้องการบริโภค ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าเกษตรว่ามีความจำเป็นเพียงใด ได้แก่ ข้าวซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีความจำเป็นในการบริโภคสำหรับคนไทย หรือไก่ที่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีการบริโภคทั่วไป มักจะมีระดับความต้องการบริโภคที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่สินค้าเกษตรที่เป็นกลุ่มสินค้าราคาแพงซึ่งมีการบริโภคที่จำกัดเฉพาะผู้บริโภคบางกลุ่มเท่านั้น เช่น อาหารทะเลที่ราคาสูงจะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าสินค้าเกษตรในกลุ่มแรก2.ความเสี่ยงด้านการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อระดับราคาของสินค้าและผลตอบแทนของผู้ประกอบการโดยเฉพาะในปัจจุบันประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของไทยได้มีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้ผลผลิตที่ได้จากการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังเช่นกรณีของไก่เนื้อที่ราคาตกต่ำอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันนอกจากนี้ ปัจจัยด้านการผลิตยังมีความเสี่ยงจากการควบคุมคุณภาพของผลผลิต ได้แก่ ปัญหาโรคระบาดในสัตว์ ดังเช่นในกรณีของการผลิตเนื้อไก่ในต่างประเทศ ซึ่งมีปัญหาไข้หวัดนกระบาดอยู่เป็นช่วงๆ จึงต้องมีการกำจัดไก่ที่ติดโรคดังกล่าว ส่งผลให้ผลผลิตของไก่มีจำนวนลดลงเป็นบางช่วงทำให้เกิดความผันผวนของราคา ในขณะเดียวกันผู้ผลิตยังต้องมีการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ๆ มาใช้และการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีผลต่อผู้บริโภค เช่น ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือสารกลุ่มเบต้า อะโกนีสต์ในการเลี้ยงสุกร ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อหมูที่มีความปลอดภัยมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ สินค้าเกษตรของไทยหลายรายการมีการส่งออกในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เช่น กุ้งส่งออกของไทยที่มีปริมาณการส่งออกสูงถึง 90% ของผลผลิตกุ้ง โดยส่งออกในรูปของกุ้งแช่แข็ง ซึ่งในการส่งออกต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ อย่างกรณีที่มีการใช้มาตรการตรวจสอบสารเคมีตกค้างของสหภาพยุโรป ซึ่งนำมาใช้ในการตรวจสอบไก่และกุ้งที่ส่งออกไปยังประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป มีผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยลดลงอย่างมาก นอกจากนั้น ยังมีข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าของประเทศต่างๆ เช่น มาตรการทางภาษี อย่างกรณีที่สินค้าประมงไทยถูกสหภาพยุโรปตัดจีเอสพีตั้งแต่ปี 2540 โดยได้ตัด 100% ในปี 2542 ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าประมงไทยอยู่ในอัตราสูงสุดในขณะที่ประเทศคู่แข่งอื่นๆ เสียภาษีต่ำกว่ามากหรือไม่ต้องเสียเลย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียเปรียบทางการค้าของสินค้าเกษตรไทยเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ในการจัดอันดับเครดิตของบริษัทที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงทั้ง 3 ประการดังกล่าว โดยบริษัทที่ได้รับอันดับเครดิตที่ค่อนข้างสูงจะต้องมีความสามารถในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าวได้ ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีวิธีการลดความเสี่ยงทั้ง 3 ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้1. การกระจายชนิดของสินค้า เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) และบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเกษตรหลายประเภท ได้แก่ การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ ดำเนินธุรกิจฟาร์มไก่ ผลิตและจำหน่ายเนื้อไก่ กุ้ง รวมทั้งการแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปจากเนื้อไก่ กุ้ง เพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออก2. การพยายามควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำ โดยการนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต อย่างกรณีของ CPF ที่มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ให้จำนวนสัตว์เลี้ยงต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ตัวต่อคนเป็น 100,000 ตัวต่อคน รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้เป็นพันธุ์ที่ให้น้ำหนักต่อตัวเพิ่มขึ้น 3. การพยายามเข้าสู่ตลาดโดยการประยุกต์ใช้วิธีการเลี้ยงที่เป็นที่ยอมรับในตลาดผู้ส่งออก ได้แก่ Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ซึ่งเป็นระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย การนำหลักการ Animal Welfare มาใช้และการควบคุมการใช้สารเคมีที่ไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้า เป็นต้น ทำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้4. การผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนของการผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยง การผลิตและแปรรูป ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีกว่าผู้ประกอบการที่มีการผลิตเพียงบางส่วน ปัจจุบันผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ CPF (อันดับเครดิตองค์กร A+) บริษัท สหฟาร์ม จำกัด บริษัท จีเอฟพีที จำกัด และ บริษัทในเครือเบทาโกร ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และคาดว่ามีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันมากกว่า 90% อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไก่และกุ้งในปัจจุบัน ยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากต่างประเทศอยู่ต่อไป จากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ แม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์ของผลิตภัณฑ์จากไก่จะเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น จากการระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศทำให้ผลผลิตเนื้อไก่ลดลงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นความต้องการนำเข้าเนื้อไก่ไทยจึงเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอกชนให้ลดปริมาณการผลิตเนื้อไก่ลงตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 เป็นต้นมา ทำให้ราคาเนื้อไก่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในส่วนของกุ้งนั้น ผู้ส่งออกยังต้องเผชิญสถานการณ์การแข่งขันจากต่างประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม บราซิล อินเดีย และเอควาดอร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูต่อไปว่าจะกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกุ้งมากน้อยเพียงใด
http://www.trisrating.com/cgi-bin/trisrating/eng/articles/news_list.pl?id=17
กฎหมายให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำความผิดบางอย่างทางทะเล
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำผิดความบางอย่างทางทะเล พ.ศ.๒๔๙๐ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๔
กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่ง
สินค้า พ.ศ.๒๕๒๒)
กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.๒๕๒๒)
กฎหมายนี้มีความมุ่งหมายที่จะควบคุมการส่งสินค้าออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และภาวะการค้าในปัจจุบัน และเป็นการจัดระเบียบทางการค้ากับต่างประเทศให้เป็นไปอย่างมีระเบียบเป็นผลดีต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ การสารธารณสุข ความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน และก่อให้เกิดความเชื่อถือแก่นานาประเทศยิ่งขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ (มาตรา ๕)
- กำหนดสินค้าใดเป็นสินค้าต้องห้ามในการส่งออกหรือนำเข้า
- กำหนดสินค้าให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก หรือในการนำเข้า
- กำหนดประเภท ชนิด คุณภาพ มาตรฐาน จำนวน ปริมาตร ขนาด น้ำหนัก ราคา ชื่อที่ใช้ในการค้า ตรา เครื่องหมายการค้า ถิ่นกำเนิดสำหรับสินค้าที่ส่งออกหรือนำเข้าตลอดจนการกำหนดประเทศที่ส่งไป หรือประเทศที่ส่งมาซึ่งสินค้าดังกล่าว
- กำหนดประเภท และชนิดสินค้าที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการส่งออก หรือในการนำเข้า
- กำหนดให้สินค้าที่ส่งออก หรือนำเข้าเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าหนังสือรับรองคุณภาพสินค้า หรือหนังสือรับรองอื่นใดตามที่ตกลงหรือประเพณีการค้าระหว่างประเทศ
- กำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการส่งออก หรือการนำเข้าตามพระราชบัญญัตินี้
เจ้าหน้าที่ทหารเรือจะมีอำนาจปราบปรามการกระทำผิดนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีประกาศ
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังกล่าวแล้วซึ่งปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ออกประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา และประกาศกระทรวงพาณิชย์หลายฉบับกำหนดให้สินค้าชนิดต่าง ๆ เป็นสินค้าต้องขออนุญาตในการนำเข้าหรือส่งออก ดังนั้นหากพบว่าได้มีการกระทำผิดโดยมีสินค้าที่ขออนุญาตการนำเข้า หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือสงสัยว่าจะมีการนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามา หรือออกนอกราชอาณาจักรทางทะเล หรือในลำน้ำติดต่อกับต่างประเทศ หรือทางลำน้ำซึ่งออกสู่ทะเลได้ แต่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารที่แสดงว่าได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายแล้ว ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ (มาตรา ๗) ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเรือก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติต่อเรือ หรือผู้ควบคุมเรือได้ตามอำนาจหน้าที่
หมายเหตุ การนำเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ปกติจะต้องผ่านพิธีการทางศุลกากรเสียก่อนการกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องดูพระราชบัญญัติศุลกากรด้วย
http://www.navy.mi.th/ptrl/patrol_squadron/web/law1.doc
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำผิดความบางอย่างทางทะเล พ.ศ.๒๔๙๐ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๔
กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่ง
สินค้า พ.ศ.๒๕๒๒)
กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.๒๕๒๒)
กฎหมายนี้มีความมุ่งหมายที่จะควบคุมการส่งสินค้าออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และภาวะการค้าในปัจจุบัน และเป็นการจัดระเบียบทางการค้ากับต่างประเทศให้เป็นไปอย่างมีระเบียบเป็นผลดีต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ การสารธารณสุข ความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน และก่อให้เกิดความเชื่อถือแก่นานาประเทศยิ่งขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ (มาตรา ๕)
- กำหนดสินค้าใดเป็นสินค้าต้องห้ามในการส่งออกหรือนำเข้า
- กำหนดสินค้าให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก หรือในการนำเข้า
- กำหนดประเภท ชนิด คุณภาพ มาตรฐาน จำนวน ปริมาตร ขนาด น้ำหนัก ราคา ชื่อที่ใช้ในการค้า ตรา เครื่องหมายการค้า ถิ่นกำเนิดสำหรับสินค้าที่ส่งออกหรือนำเข้าตลอดจนการกำหนดประเทศที่ส่งไป หรือประเทศที่ส่งมาซึ่งสินค้าดังกล่าว
- กำหนดประเภท และชนิดสินค้าที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการส่งออก หรือในการนำเข้า
- กำหนดให้สินค้าที่ส่งออก หรือนำเข้าเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าหนังสือรับรองคุณภาพสินค้า หรือหนังสือรับรองอื่นใดตามที่ตกลงหรือประเพณีการค้าระหว่างประเทศ
- กำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการส่งออก หรือการนำเข้าตามพระราชบัญญัตินี้
เจ้าหน้าที่ทหารเรือจะมีอำนาจปราบปรามการกระทำผิดนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีประกาศ
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังกล่าวแล้วซึ่งปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ออกประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา และประกาศกระทรวงพาณิชย์หลายฉบับกำหนดให้สินค้าชนิดต่าง ๆ เป็นสินค้าต้องขออนุญาตในการนำเข้าหรือส่งออก ดังนั้นหากพบว่าได้มีการกระทำผิดโดยมีสินค้าที่ขออนุญาตการนำเข้า หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือสงสัยว่าจะมีการนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามา หรือออกนอกราชอาณาจักรทางทะเล หรือในลำน้ำติดต่อกับต่างประเทศ หรือทางลำน้ำซึ่งออกสู่ทะเลได้ แต่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารที่แสดงว่าได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายแล้ว ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ (มาตรา ๗) ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเรือก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติต่อเรือ หรือผู้ควบคุมเรือได้ตามอำนาจหน้าที่
หมายเหตุ การนำเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ปกติจะต้องผ่านพิธีการทางศุลกากรเสียก่อนการกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องดูพระราชบัญญัติศุลกากรด้วย
http://www.navy.mi.th/ptrl/patrol_squadron/web/law1.doc
Tuesday, January 23, 2007
กรมประมงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไทยได้มาตรฐานและสามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออกมีขั้นตอนปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1. การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการผู้ประกอบการที่ขอรับบริการจากกรมประมงต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมประมงและสมาคมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้1.1 ขึ้นทะเบียนกรมประมง
1.2 ขึ้นทะเบียนสมาคมฯ.
2. การตรวจรับรองโรงงานและผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขอการรับรองโรงงานจากกรมประมงให้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ (แบบคำร้องขอให้ตรวจสุขลักษณะโรงงาน, แบบคำร้องขอสุ่มตัวอย่าง)ให้เจ้าหน้าที่กรมประมงไปตรวจโรงงาน พร้อมเอกสารหลักฐานต่อไปนี้
1. สำเนาหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ 2. สำเนาทะเบียนการค้า 3. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท 4. สำเนาใบอนุญาตการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม หรือสำเนา ใบอนุญาตประกอบอาหารจากกระทรวงสาธารณสุข (ถ้ามี) 5. สำเนาบัตรขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ หรือสำเนาใบรับแบบแจ้งคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ของกรมประมง 6. หนังสือมอบอำนาจในการติดต่อและเซ็นรับเอกสารใบรับรอง 7. หลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย หรือสมาคมกุ้งไทยสำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง หรือ หลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสำเร็จรูป บรรจุกระป๋อง/Pouch อาหารแห้ง อาหารหมักดอง อาหารพื้นเมือง หรือ หลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมโรงงานน้ำปลา สำหรับโรงงานน้ำปลาหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกซึ่งได้รับการรับรองจากกรมประมงแล้ว 8. แผนที่โรงงาน
มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้1. ตรวจสุขลักษณะโรงงานและระบบควบคุมคุณภาพHACCP (ข้อกำหนด)2. สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ โดยเจ้าหน้าที่กรมประมง (ตารางการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ แช่เยือกแข็ง บรรจุกระป๋อง พื้นเมือง)3. ตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ (ข้อกำหนดทางกายภาพ เคมี จุลชีววิทยา)4. ขอเอกสารใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate)
1.2 ขึ้นทะเบียนสมาคมฯ.
2. การตรวจรับรองโรงงานและผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขอการรับรองโรงงานจากกรมประมงให้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ (แบบคำร้องขอให้ตรวจสุขลักษณะโรงงาน, แบบคำร้องขอสุ่มตัวอย่าง)ให้เจ้าหน้าที่กรมประมงไปตรวจโรงงาน พร้อมเอกสารหลักฐานต่อไปนี้
1. สำเนาหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ 2. สำเนาทะเบียนการค้า 3. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท 4. สำเนาใบอนุญาตการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม หรือสำเนา ใบอนุญาตประกอบอาหารจากกระทรวงสาธารณสุข (ถ้ามี) 5. สำเนาบัตรขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ หรือสำเนาใบรับแบบแจ้งคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ของกรมประมง 6. หนังสือมอบอำนาจในการติดต่อและเซ็นรับเอกสารใบรับรอง 7. หลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย หรือสมาคมกุ้งไทยสำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง หรือ หลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสำเร็จรูป บรรจุกระป๋อง/Pouch อาหารแห้ง อาหารหมักดอง อาหารพื้นเมือง หรือ หลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมโรงงานน้ำปลา สำหรับโรงงานน้ำปลาหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกสมาคมอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกซึ่งได้รับการรับรองจากกรมประมงแล้ว 8. แผนที่โรงงาน
มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้1. ตรวจสุขลักษณะโรงงานและระบบควบคุมคุณภาพHACCP (ข้อกำหนด)2. สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ โดยเจ้าหน้าที่กรมประมง (ตารางการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ แช่เยือกแข็ง บรรจุกระป๋อง พื้นเมือง)3. ตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ (ข้อกำหนดทางกายภาพ เคมี จุลชีววิทยา)4. ขอเอกสารใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate)
บรรดาสัตว์น้ำที่มีชีวิตที่จะส่งออกไปต่างประเทศ และทางประเทศปลายทางต้องการใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ (Aquatic Animal Health Certificate) นั้น ผู้ส่งออกต้องสุ่มตัวอย่างสัตว์น้ำเหล่านั้น มาตรวจโรค เพื่อขอใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำดังกล่าว ตามระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการขอใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำมีชีวิต เพื่อการส่งสินค้าสัตว์น้ำ ออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2532 สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ เป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่มีหน้าที่ในการให้บริการตรวจโรค และออกใบรับรองดังกล่าว สัตว์น้ำที่ผู้ส่งออกนำมาตรวจ มีหลายประเภท เช่น ตะพาบน้ำ กบ กุ้งทะเล กุ้งก้ามกราม กั้ง ปูทะเล หอยแครง ปลาเนื้อ และกลุ่มปลาสวยงาม โดยเฉพาะกลุ่มปลาสวยงาม มีหลายชนิดที่เป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศ ทางแถบทวีปยุโรป ปลาสวยงามเหล่านี้มีทั้งที่มาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง และจากการรวบรวม จากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ ทั่วประเทศ
โดยผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะรับซื้อปลาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง และจากผู้รวบรวมปลาจากธรรมชาติ มีบางรายที่ดำเนินการเพาะเลี้ยงเองบ้างบางส่วน จากการที่ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ ไม่ได้เพาะเลี้ยงปลาเอง เพียงแต่รับซื้อปลามาพักไว้ชั่วคราว แล้วจึงดำเนินการส่งออกต่างประเทศ ทำให้ไม่ได้จัดการป้องกัน และรักษาโรคก่อนนำมาตรวจ และบางรายก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ รวมทั้งผู้เพาะเลี้ยงเอง ก็ไม่ได้ทำการกำจัดโรคปรสิตก่อนที่จะส่งปลาให้กับผู้ส่งออก ดังนั้นเมื่อนำปลามาตรวจโรค จึงมักตรวจพบโรคปรสิตอยู่เสมอๆ ทำให้ปลาเหล่านี้ไม่สามารถส่งออกได้ ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้เลี้ยงปลา และผู้ส่งออกอยู่มากเหมือนกัน
เนื่องจากตามระเบียบกรมประมงผู้ส่งออกจะต้องนำปลาที่มีลักษณะภายนอกปกติ ไม่มีลักษณะแสดงอาการของปลาเป็นโรค ดังนั้นมาตรฐานของการปลอดโรค ที่จะส่งออกได้จึงเน้นหนัก ไปในการตรวจหาปรสิต โดยเฉพาะปรสิตภายนอก และอาจมีการตรวจปรสิตภายในด้วย สำหรับปลาบางชนิด เช่น การตรวจหา Hexamita sp. ในปลาปอมปาดัว ดังนั้นหากตรวจพบปรสิตชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ทางสถาบันฯ ก็ไม่สามารถออกใบรับรอง สุขภาพสัตว์น้ำให้กับผู้ส่งออกได้
http://www.fisheries.go.th/dof_thai/Division/Health_new/aahri-new/thai/newsletter_th/Y_05_V_2.htm
EU แก้ไขกฎระเบียบมาตรการสำหรับสินค้าที่ทำจากสัตว์เพื่อการบริโภคบางประเภท
ด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้ประกาศตีพิมพ์ลงใน EU Official Journal L 320 Volume 13 กฎระเบียบ Commission Regulation (EC) No 1664/2006 of 6 November 2006 amending Regulation (EC) No 2074/2005 as regards implementing measures for certain products of animal origin intended for human consumption and repealing certain implementing measures ว่าด้วย มาตรการดำเนินการสำหรับสินค้าที่ทำจากสัตว์เพื่อการบริโภคบางประเภท
1. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการปรับปรุงกฎระเบียบเดิม คือ กฎระเบียบ Regulation (EC) No 2074/2005 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขสุขอนามัยและสุขอนามัยสัตว์ รวมถึงการกำหนดแบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยสัตว์ (model veterinary certificate) ขึ้นใหม่ สำหรับสินค้าที่ทำจากสัตว์จากประเทศที่สามที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรปในบางประเภท ตามภาคผนวกที่ 2 (Annex II) เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ 3 ฉบับ
ซึ่งเป็นกฎระเบียบแม่ในการควบคุมห่วงโซ่สุขอนามัยอาหารที่ทำมาจากสัตว์ทั้งหมด ทั้งนี้ ได้รวมการกำหนดวิธีตรวจหา (detection method) พิษอัมพาตจากหอย (Paralytic Shellfish Poison : PSP) ซึ่งพิษอัมพาตจากหอยเป็นสารพิษที่เกิดในแพลงก์ตอนโกนีโอแลกซ์ คาทาเนลลา และโกนีโอแลกซ์ ทามาเรนซิส (Gonyaulax catanella and Gonyaulax tamarensis) ซึ่งเป็นอาหารของหอย หอยจะดูดซึมสารพิษนี้จากแพลงก์ตอนและสะสมไว้ในตัว เมื่อรับประทานหอยที่มีสารพิษนี้ จะออกฤทธิ์กับระบบประสาทหลังบริโภคประมาณ 30 นาที จะมีอาการชาที่ปาก กล้ามเนื้อเกิดอัมพาต หากได้รับปริมาณมากจะเสียชีวิตภายใน 12 ชั่วโมง เนื่องจากระบบหายใจขัดข้อง การรักษามักใช้วิธีให้ผู้ป่วยอาเจียนหรือล้างกระเพาะด้วยผงถ่านเพื่อดูดซับสารพิษออกให้มากที่สุด รวมทั้งใช้เครื่องช่วยหายใจ ตามภาคผนวกที่ 1 (Annex I) และวิธีตรวจสอบ (testing methods) นมดิบ (raw milk) และนมที่ผ่านความร้อนสูง (heat-treated milk) ตามภาคผนวกที่ 3 (Annex III) ขึ้นใหม่ด้วยเช่นกัน
2. กฎระเบียบ Commission Regulation (EC) No 1664/2006 นี้กำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกจำต้องใช้แบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยสัตว์ครอบคลุมสินค้ากบ หอยทาก เจลลาติน คอลลาเจน สินค้าประมง หอยสองฝา และน้ำผึ้ง อันได้แก่3. กฎระเบียบดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุโรปด้านห่วงโซ่อาหารและสุขภาพสัตว์ (EU Standing Committee on the Food Chain and Animal Health) ด้วยแล้ว
4. ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลปรับใช้ภายในทุกประเทศสมาชิก EU-25 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไป (มีผล 7 วันภายหลังจากวันที่ประกาศใน EU official Journal) อย่างไรก็ดี EU ได้กำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านให้แก่ประเทศสมาชิก ตามระบุในมาตราที่ 3 ของกฎระเบียบฉบับนี้ว่า ยกเว้นให้แต่เฉพาะภาคผนวกที่ 3 (Annex III) ว่าด้วย วิธีตรวจสอบ (testing methods) นมดิบ (raw milk) และนมที่ผ่านความร้อนสูง (heat-treated milk) ให้มีผลปรับใช้ภายใน 6 เดือนเป็นอย่างช้านับจากวันที่ประกาศใน EU official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 โดยกฎระเบียบใหม่นี้ จะถือเป็นการยกเลิกกฎระเบียบเดิมทุกรายการที่ปรากฏในภาคผนวก 4 (Annex IV) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นไป
http://news.thaieurope.net/content/view/2002/94/
Sunday, January 21, 2007
การชำระเงินทางการค้าระหว่างประเทศ
(PAYMENT IN INTERNATIONAL TRADE)
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. การชำระเงินด้วยเงินสด หรือ ชำระเงินล่วงหน้า (CASH WITH ORDER OR ADVANCE PAYMENT)
2. การชำระเงินด้วยวิธีการเปิดบัญชีขายเชื่อ (OPEN ACCOUNT)
3. การชำระเงินโดยใช้เอกสารเรียกเก็บผ่านธนาคาร (BILL FOR COLLOERTION)
4. การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (DOC -003.htmUMENTARY LETTER OF CREDIT)
http://www.ebcitrade.com
(PAYMENT IN INTERNATIONAL TRADE)
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. การชำระเงินด้วยเงินสด หรือ ชำระเงินล่วงหน้า (CASH WITH ORDER OR ADVANCE PAYMENT)
2. การชำระเงินด้วยวิธีการเปิดบัญชีขายเชื่อ (OPEN ACCOUNT)
3. การชำระเงินโดยใช้เอกสารเรียกเก็บผ่านธนาคาร (BILL FOR COLLOERTION)
4. การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (DOC -003.htmUMENTARY LETTER OF CREDIT)
http://www.ebcitrade.com
Subscribe to:
Posts (Atom)