BLOG ที่น่าสนใจ
กลุ่มปวส1
กลุ่มที่ 14 เพราะมีการพัฒนามากกว่ากลุ่มอื่นๆมีการหาภาพจากที่อื่นมาใส่เพื่อตกแต่งให้เนื้อหาดูน่าสนใจ
กลุ่มที่ 16 เพราะมีเนื้อหาที่น่าสนใจจัดรูปแบบได้สวย
กลุ่มที่ 13 มีเนื้อหาครบถ้วนมีการพัฒนาหน้าBLOG ให้สวยน่าสนใจ
กลุ่มปวส2
กลุ่มที่ 2 เพราะมีการพัฒนาหน้าBLOGให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เนื้อหาน่าสนใจมีการนำภาพสวยๆมาตกแต่ง
กลุ่มที่ 5 เพราะมีการพัฒนารูปแบบที่สวยงาม น่าอ่านมีการตกแต่งที่ชวนสนใจ
กลุ่มที่ 1 เพราะมีการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
Thursday, March 1, 2007
ความเสี่ยงของธุรกิจสินค้าเกษตร
สินค้าเกษตรที่มีการกล่าวถึงกันมากในช่วงที่ผ่านมาคือผลิตภัณฑ์ไก่ และกุ้ง เนื่องจากปัญหาทางด้านราคาที่ลดลงตลอดตั้งแต่ปลายปี 2544 เป็นต้นมาและลดลงมาที่ระดับต่ำที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2546 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มการผลิตของผู้ผลิตในประเทศ ในขณะที่ผู้ส่งออกต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้ารวมถึงการแข่งขันอย่างรุนแรงจากตลาดต่างประเทศ ทำให้เกิดสถานการณ์ผลิตผลส่วนเกินในประเทศปัจจัยที่กระทบต่อความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการเกษตรความผันผวนของความต้องการบริโภค ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าเกษตรว่ามีความจำเป็นเพียงใด ได้แก่ ข้าวซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีความจำเป็นในการบริโภคสำหรับคนไทย หรือไก่ที่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีการบริโภคทั่วไป มักจะมีระดับความต้องการบริโภคที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่สินค้าเกษตรที่เป็นกลุ่มสินค้าราคาแพงซึ่งมีการบริโภคที่จำกัดเฉพาะผู้บริโภคบางกลุ่มเท่านั้น เช่น อาหารทะเลที่ราคาสูงจะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าสินค้าเกษตรในกลุ่มแรก2.ความเสี่ยงด้านการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อระดับราคาของสินค้าและผลตอบแทนของผู้ประกอบการโดยเฉพาะในปัจจุบันประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของไทยได้มีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้ผลผลิตที่ได้จากการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังเช่นกรณีของไก่เนื้อที่ราคาตกต่ำอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันนอกจากนี้ ปัจจัยด้านการผลิตยังมีความเสี่ยงจากการควบคุมคุณภาพของผลผลิต ได้แก่ ปัญหาโรคระบาดในสัตว์ ดังเช่นในกรณีของการผลิตเนื้อไก่ในต่างประเทศ ซึ่งมีปัญหาไข้หวัดนกระบาดอยู่เป็นช่วงๆ จึงต้องมีการกำจัดไก่ที่ติดโรคดังกล่าว ส่งผลให้ผลผลิตของไก่มีจำนวนลดลงเป็นบางช่วงทำให้เกิดความผันผวนของราคา ในขณะเดียวกันผู้ผลิตยังต้องมีการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ๆ มาใช้และการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีผลต่อผู้บริโภค เช่น ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือสารกลุ่มเบต้า อะโกนีสต์ในการเลี้ยงสุกร ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อหมูที่มีความปลอดภัยมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ สินค้าเกษตรของไทยหลายรายการมีการส่งออกในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เช่น กุ้งส่งออกของไทยที่มีปริมาณการส่งออกสูงถึง 90% ของผลผลิตกุ้ง โดยส่งออกในรูปของกุ้งแช่แข็ง ซึ่งในการส่งออกต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ อย่างกรณีที่มีการใช้มาตรการตรวจสอบสารเคมีตกค้างของสหภาพยุโรป ซึ่งนำมาใช้ในการตรวจสอบไก่และกุ้งที่ส่งออกไปยังประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป มีผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยลดลงอย่างมาก นอกจากนั้น ยังมีข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าของประเทศต่างๆ เช่น มาตรการทางภาษี อย่างกรณีที่สินค้าประมงไทยถูกสหภาพยุโรปตัดจีเอสพีตั้งแต่ปี 2540 โดยได้ตัด 100% ในปี 2542 ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าประมงไทยอยู่ในอัตราสูงสุดในขณะที่ประเทศคู่แข่งอื่นๆ เสียภาษีต่ำกว่ามากหรือไม่ต้องเสียเลย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียเปรียบทางการค้าของสินค้าเกษตรไทยเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ในการจัดอันดับเครดิตของบริษัทที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงทั้ง 3 ประการดังกล่าว โดยบริษัทที่ได้รับอันดับเครดิตที่ค่อนข้างสูงจะต้องมีความสามารถในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าวได้ ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีวิธีการลดความเสี่ยงทั้ง 3 ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้1. การกระจายชนิดของสินค้า เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) และบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเกษตรหลายประเภท ได้แก่ การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ ดำเนินธุรกิจฟาร์มไก่ ผลิตและจำหน่ายเนื้อไก่ กุ้ง รวมทั้งการแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปจากเนื้อไก่ กุ้ง เพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออก2. การพยายามควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำ โดยการนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต อย่างกรณีของ CPF ที่มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ให้จำนวนสัตว์เลี้ยงต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ตัวต่อคนเป็น 100,000 ตัวต่อคน รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้เป็นพันธุ์ที่ให้น้ำหนักต่อตัวเพิ่มขึ้น 3. การพยายามเข้าสู่ตลาดโดยการประยุกต์ใช้วิธีการเลี้ยงที่เป็นที่ยอมรับในตลาดผู้ส่งออก ได้แก่ Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ซึ่งเป็นระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย การนำหลักการ Animal Welfare มาใช้และการควบคุมการใช้สารเคมีที่ไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้า เป็นต้น ทำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้4. การผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนของการผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยง การผลิตและแปรรูป ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีกว่าผู้ประกอบการที่มีการผลิตเพียงบางส่วน ปัจจุบันผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ CPF (อันดับเครดิตองค์กร A+) บริษัท สหฟาร์ม จำกัด บริษัท จีเอฟพีที จำกัด และ บริษัทในเครือเบทาโกร ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และคาดว่ามีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันมากกว่า 90% อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไก่และกุ้งในปัจจุบัน ยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากต่างประเทศอยู่ต่อไป จากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ แม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์ของผลิตภัณฑ์จากไก่จะเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น จากการระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศทำให้ผลผลิตเนื้อไก่ลดลงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นความต้องการนำเข้าเนื้อไก่ไทยจึงเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอกชนให้ลดปริมาณการผลิตเนื้อไก่ลงตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 เป็นต้นมา ทำให้ราคาเนื้อไก่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในส่วนของกุ้งนั้น ผู้ส่งออกยังต้องเผชิญสถานการณ์การแข่งขันจากต่างประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม บราซิล อินเดีย และเอควาดอร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูต่อไปว่าจะกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกุ้งมากน้อยเพียงใด
http://www.trisrating.com/cgi-bin/trisrating/eng/articles/news_list.pl?id=17
สินค้าเกษตรที่มีการกล่าวถึงกันมากในช่วงที่ผ่านมาคือผลิตภัณฑ์ไก่ และกุ้ง เนื่องจากปัญหาทางด้านราคาที่ลดลงตลอดตั้งแต่ปลายปี 2544 เป็นต้นมาและลดลงมาที่ระดับต่ำที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2546 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มการผลิตของผู้ผลิตในประเทศ ในขณะที่ผู้ส่งออกต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้ารวมถึงการแข่งขันอย่างรุนแรงจากตลาดต่างประเทศ ทำให้เกิดสถานการณ์ผลิตผลส่วนเกินในประเทศปัจจัยที่กระทบต่อความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการเกษตรความผันผวนของความต้องการบริโภค ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าเกษตรว่ามีความจำเป็นเพียงใด ได้แก่ ข้าวซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีความจำเป็นในการบริโภคสำหรับคนไทย หรือไก่ที่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีการบริโภคทั่วไป มักจะมีระดับความต้องการบริโภคที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่สินค้าเกษตรที่เป็นกลุ่มสินค้าราคาแพงซึ่งมีการบริโภคที่จำกัดเฉพาะผู้บริโภคบางกลุ่มเท่านั้น เช่น อาหารทะเลที่ราคาสูงจะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าสินค้าเกษตรในกลุ่มแรก2.ความเสี่ยงด้านการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อระดับราคาของสินค้าและผลตอบแทนของผู้ประกอบการโดยเฉพาะในปัจจุบันประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของไทยได้มีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้ผลผลิตที่ได้จากการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังเช่นกรณีของไก่เนื้อที่ราคาตกต่ำอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันนอกจากนี้ ปัจจัยด้านการผลิตยังมีความเสี่ยงจากการควบคุมคุณภาพของผลผลิต ได้แก่ ปัญหาโรคระบาดในสัตว์ ดังเช่นในกรณีของการผลิตเนื้อไก่ในต่างประเทศ ซึ่งมีปัญหาไข้หวัดนกระบาดอยู่เป็นช่วงๆ จึงต้องมีการกำจัดไก่ที่ติดโรคดังกล่าว ส่งผลให้ผลผลิตของไก่มีจำนวนลดลงเป็นบางช่วงทำให้เกิดความผันผวนของราคา ในขณะเดียวกันผู้ผลิตยังต้องมีการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ๆ มาใช้และการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีผลต่อผู้บริโภค เช่น ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือสารกลุ่มเบต้า อะโกนีสต์ในการเลี้ยงสุกร ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อหมูที่มีความปลอดภัยมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ สินค้าเกษตรของไทยหลายรายการมีการส่งออกในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เช่น กุ้งส่งออกของไทยที่มีปริมาณการส่งออกสูงถึง 90% ของผลผลิตกุ้ง โดยส่งออกในรูปของกุ้งแช่แข็ง ซึ่งในการส่งออกต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ อย่างกรณีที่มีการใช้มาตรการตรวจสอบสารเคมีตกค้างของสหภาพยุโรป ซึ่งนำมาใช้ในการตรวจสอบไก่และกุ้งที่ส่งออกไปยังประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป มีผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยลดลงอย่างมาก นอกจากนั้น ยังมีข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าของประเทศต่างๆ เช่น มาตรการทางภาษี อย่างกรณีที่สินค้าประมงไทยถูกสหภาพยุโรปตัดจีเอสพีตั้งแต่ปี 2540 โดยได้ตัด 100% ในปี 2542 ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าประมงไทยอยู่ในอัตราสูงสุดในขณะที่ประเทศคู่แข่งอื่นๆ เสียภาษีต่ำกว่ามากหรือไม่ต้องเสียเลย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียเปรียบทางการค้าของสินค้าเกษตรไทยเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ในการจัดอันดับเครดิตของบริษัทที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงทั้ง 3 ประการดังกล่าว โดยบริษัทที่ได้รับอันดับเครดิตที่ค่อนข้างสูงจะต้องมีความสามารถในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าวได้ ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีวิธีการลดความเสี่ยงทั้ง 3 ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้1. การกระจายชนิดของสินค้า เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) และบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเกษตรหลายประเภท ได้แก่ การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ ดำเนินธุรกิจฟาร์มไก่ ผลิตและจำหน่ายเนื้อไก่ กุ้ง รวมทั้งการแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปจากเนื้อไก่ กุ้ง เพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออก2. การพยายามควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำ โดยการนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต อย่างกรณีของ CPF ที่มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ให้จำนวนสัตว์เลี้ยงต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ตัวต่อคนเป็น 100,000 ตัวต่อคน รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้เป็นพันธุ์ที่ให้น้ำหนักต่อตัวเพิ่มขึ้น 3. การพยายามเข้าสู่ตลาดโดยการประยุกต์ใช้วิธีการเลี้ยงที่เป็นที่ยอมรับในตลาดผู้ส่งออก ได้แก่ Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ซึ่งเป็นระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย การนำหลักการ Animal Welfare มาใช้และการควบคุมการใช้สารเคมีที่ไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้า เป็นต้น ทำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้4. การผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนของการผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยง การผลิตและแปรรูป ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีกว่าผู้ประกอบการที่มีการผลิตเพียงบางส่วน ปัจจุบันผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ CPF (อันดับเครดิตองค์กร A+) บริษัท สหฟาร์ม จำกัด บริษัท จีเอฟพีที จำกัด และ บริษัทในเครือเบทาโกร ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และคาดว่ามีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันมากกว่า 90% อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไก่และกุ้งในปัจจุบัน ยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากต่างประเทศอยู่ต่อไป จากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ แม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์ของผลิตภัณฑ์จากไก่จะเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น จากการระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศทำให้ผลผลิตเนื้อไก่ลดลงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นความต้องการนำเข้าเนื้อไก่ไทยจึงเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอกชนให้ลดปริมาณการผลิตเนื้อไก่ลงตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 เป็นต้นมา ทำให้ราคาเนื้อไก่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในส่วนของกุ้งนั้น ผู้ส่งออกยังต้องเผชิญสถานการณ์การแข่งขันจากต่างประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม บราซิล อินเดีย และเอควาดอร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูต่อไปว่าจะกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกุ้งมากน้อยเพียงใด
http://www.trisrating.com/cgi-bin/trisrating/eng/articles/news_list.pl?id=17
กฎหมายให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำความผิดบางอย่างทางทะเล
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำผิดความบางอย่างทางทะเล พ.ศ.๒๔๙๐ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๔
กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่ง
สินค้า พ.ศ.๒๕๒๒)
กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.๒๕๒๒)
กฎหมายนี้มีความมุ่งหมายที่จะควบคุมการส่งสินค้าออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และภาวะการค้าในปัจจุบัน และเป็นการจัดระเบียบทางการค้ากับต่างประเทศให้เป็นไปอย่างมีระเบียบเป็นผลดีต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ การสารธารณสุข ความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน และก่อให้เกิดความเชื่อถือแก่นานาประเทศยิ่งขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ (มาตรา ๕)
- กำหนดสินค้าใดเป็นสินค้าต้องห้ามในการส่งออกหรือนำเข้า
- กำหนดสินค้าให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก หรือในการนำเข้า
- กำหนดประเภท ชนิด คุณภาพ มาตรฐาน จำนวน ปริมาตร ขนาด น้ำหนัก ราคา ชื่อที่ใช้ในการค้า ตรา เครื่องหมายการค้า ถิ่นกำเนิดสำหรับสินค้าที่ส่งออกหรือนำเข้าตลอดจนการกำหนดประเทศที่ส่งไป หรือประเทศที่ส่งมาซึ่งสินค้าดังกล่าว
- กำหนดประเภท และชนิดสินค้าที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการส่งออก หรือในการนำเข้า
- กำหนดให้สินค้าที่ส่งออก หรือนำเข้าเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าหนังสือรับรองคุณภาพสินค้า หรือหนังสือรับรองอื่นใดตามที่ตกลงหรือประเพณีการค้าระหว่างประเทศ
- กำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการส่งออก หรือการนำเข้าตามพระราชบัญญัตินี้
เจ้าหน้าที่ทหารเรือจะมีอำนาจปราบปรามการกระทำผิดนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีประกาศ
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังกล่าวแล้วซึ่งปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ออกประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา และประกาศกระทรวงพาณิชย์หลายฉบับกำหนดให้สินค้าชนิดต่าง ๆ เป็นสินค้าต้องขออนุญาตในการนำเข้าหรือส่งออก ดังนั้นหากพบว่าได้มีการกระทำผิดโดยมีสินค้าที่ขออนุญาตการนำเข้า หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือสงสัยว่าจะมีการนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามา หรือออกนอกราชอาณาจักรทางทะเล หรือในลำน้ำติดต่อกับต่างประเทศ หรือทางลำน้ำซึ่งออกสู่ทะเลได้ แต่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารที่แสดงว่าได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายแล้ว ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ (มาตรา ๗) ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเรือก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติต่อเรือ หรือผู้ควบคุมเรือได้ตามอำนาจหน้าที่
หมายเหตุ การนำเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ปกติจะต้องผ่านพิธีการทางศุลกากรเสียก่อนการกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องดูพระราชบัญญัติศุลกากรด้วย
http://www.navy.mi.th/ptrl/patrol_squadron/web/law1.doc
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำผิดความบางอย่างทางทะเล พ.ศ.๒๔๙๐ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๔
กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่ง
สินค้า พ.ศ.๒๕๒๒)
กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.๒๕๒๒)
กฎหมายนี้มีความมุ่งหมายที่จะควบคุมการส่งสินค้าออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และภาวะการค้าในปัจจุบัน และเป็นการจัดระเบียบทางการค้ากับต่างประเทศให้เป็นไปอย่างมีระเบียบเป็นผลดีต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ การสารธารณสุข ความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน และก่อให้เกิดความเชื่อถือแก่นานาประเทศยิ่งขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ (มาตรา ๕)
- กำหนดสินค้าใดเป็นสินค้าต้องห้ามในการส่งออกหรือนำเข้า
- กำหนดสินค้าให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก หรือในการนำเข้า
- กำหนดประเภท ชนิด คุณภาพ มาตรฐาน จำนวน ปริมาตร ขนาด น้ำหนัก ราคา ชื่อที่ใช้ในการค้า ตรา เครื่องหมายการค้า ถิ่นกำเนิดสำหรับสินค้าที่ส่งออกหรือนำเข้าตลอดจนการกำหนดประเทศที่ส่งไป หรือประเทศที่ส่งมาซึ่งสินค้าดังกล่าว
- กำหนดประเภท และชนิดสินค้าที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการส่งออก หรือในการนำเข้า
- กำหนดให้สินค้าที่ส่งออก หรือนำเข้าเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าหนังสือรับรองคุณภาพสินค้า หรือหนังสือรับรองอื่นใดตามที่ตกลงหรือประเพณีการค้าระหว่างประเทศ
- กำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการส่งออก หรือการนำเข้าตามพระราชบัญญัตินี้
เจ้าหน้าที่ทหารเรือจะมีอำนาจปราบปรามการกระทำผิดนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีประกาศ
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังกล่าวแล้วซึ่งปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ออกประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา และประกาศกระทรวงพาณิชย์หลายฉบับกำหนดให้สินค้าชนิดต่าง ๆ เป็นสินค้าต้องขออนุญาตในการนำเข้าหรือส่งออก ดังนั้นหากพบว่าได้มีการกระทำผิดโดยมีสินค้าที่ขออนุญาตการนำเข้า หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือสงสัยว่าจะมีการนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามา หรือออกนอกราชอาณาจักรทางทะเล หรือในลำน้ำติดต่อกับต่างประเทศ หรือทางลำน้ำซึ่งออกสู่ทะเลได้ แต่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารที่แสดงว่าได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายแล้ว ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ (มาตรา ๗) ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเรือก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติต่อเรือ หรือผู้ควบคุมเรือได้ตามอำนาจหน้าที่
หมายเหตุ การนำเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ปกติจะต้องผ่านพิธีการทางศุลกากรเสียก่อนการกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องดูพระราชบัญญัติศุลกากรด้วย
http://www.navy.mi.th/ptrl/patrol_squadron/web/law1.doc
Subscribe to:
Posts (Atom)